ประวัติความเป็นมา และตราสัญลักษณ์

 



ประวัติความเห็นมา
     ที่มาของบ้านดอนเจดีย์  ณ สถานที่นี้คือบ้านดอนเจดีย์ หมู่ที่ ๒ ตำบลดอนเจดีย์ พนมทวน  จังหวัดกาญจนบุรี ในยุคกรุงศรีอยุธย าบริเวณนี้เรียกว่าตระพังตรุ อยู่ริมแม่น้ำทวนขึ้นกับแขวงสุพรรณบุรีต่อมาในยุครัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๓ ได้ตัดโอนให้มาขึ้นกับกาญจนบุรี ชื่อดอนเจดีย์ นี้ชาวบ้านเรียกชื่อตามสภาพของเจดีย์องค์หนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนที่ดอนชายทุ่ง เจดีย์องค์นี้ชาวบ้านเล่าขานสืบต่อกันว่า เป็นเจดีย์ที่ พระมหากษัตริย์ไทยสร้างขึ้น เมื่อคราวชนช้างชนะพม่า ชาวบ้านที่เข้ามาอยู่จึงตั้งชื่อชุมชนของตนว่า “ดอนเจดีย์” และมีความภาคภูมิใจ ในสถานที่อันเป็นเกียรติภูมิของตน จึงนำเรื่องราวที่เกี่ยวข้องมาตั้งเป็นนามสกุลที่กำหนดให้มีขึ้นในรัชการที่ ๖ อาทิ  มาลาพงษ์  ดอนเจดีย์ คชายุทธ

 


 


เหตุผลที่ว่า ดอนเจดีย์คือสถานยุทธหัตถี คือ

    ๑. ชุมชนดอนเจดีย์มีมานานแล้ว มีชื่อมาตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาพื้นที่เคยขึ้นกับจังหวัดสุพรรณบุรีต่อมา จึงตัดโอนมาขึ้นกับ กาญจนบุรี–ในรัชกาลที่ ๓

    ๒. ณ สถานที่นี้เป็นที่ตั้งอยู่บนเส้นทางเดินทัพเดิมเรียกว่าตระพังตรุ ข้อมูลตามพงศาวดารต่างๆและลักษณะภูมิประเทศ ของแต่ละท้องถิ่น มีเหตุผลที่เข้ากันได้ว่า ณ สถานที่นี้ ทัพไทยและพม่าทั้ง ๒ฝ่ายเดินทัพมารบกันที่นี่คือทัพพระมหาอุปราชา เมื่อยึดเมืองกาญจนบุรี(เก่า) ได้แล้วจะเดินทัพเข้ามาทางหนองขาว(ตามแผนที่)และมายั้งทัพอยู่ที่ตระพังตรุ และส่งกองม้า สอดแนมออกไปสืบหาข่าว ทางฝ่ายไทยสมเด็จพระนเรศวรจะเดินทัพผ่านละแก้วละเลามาที่สุพรรณบุรีแล้วยกมา ที่หนองสาหร่าย พนมทวนตั้งกองทัพหน้า ใช้เวลา ๖ วันรุ่งขึ้นจึงเกิดยุทธหัตถีที่ตระพังตรุ(ดอนเจดีย์)

    ๓. พื้นที่บริเวณนี้และบริเวณใกล้เคียงมีการพบกระดูกมนุษย์ กระดูกช้างม้าและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ มากมาย เช่น หอกดาบ ยอดฉัตร โกลนม้า โซ่ล่ามช้าง ลูกกระพรวน ฯลฯ

    ๔. เจดีย์ ณ อนุสรณ์สถานแห่งนี้มีศิลปะตรงกับยุคกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ปัจจุบันทางราชการได้ยอมรับและขึ้นทะเบียนว่าเป็นเจดีย์ ยุทธหัตถีปัจจุบันการพิสูจน์ว่าเป็นเจดีย์ยุคใดสามารถนำอิฐไปตรวจได้ด้วย หลักวิทยาศาสตร์

    ๕. หลักฐานอื่นๆที่ช่วยสนับสนุนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางประวัติศาสตร์ อาทิ แม่น้ำทวนที่ไหลผ่านบริเวณอนุสรณ์สถาน ต้นข่อยที่พระมหาอุปราชาประทัพหลังช้างรอฟังข่างการรบ บริเวณสนามรบที่เต็มไปด้วยฝุ่นทราย ฯลฯ

    สถานที่ทางประวัติศาสตร์แหล่งนี้ได้ถูกทอดทิ้งไม่ได้รับการพัฒนามา เป็นเวลานานแต่ชาวบ้านดอนเจดีย์ยังคงยึดมั่นและประกอบพิธีทำบุญอุทิศส่วน กุศลและสักการะดวงพระวิญญาณและวิญญาณของวีรชนในวันที่ ๑๘ มกราคม เป็นประจำทุกปีสถานที่แห่งนี้มาได้รับ การพัฒนาและฟื้นฟูให้เป็นอนุสรณ์สถานและเป็นที่ตั้งบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จ พระนเรศวรมหาราชด้วยความร่วมมือร่วมใจ ของชาวกาญจนบุรีและได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระญานสังวรสมเด็จพระสังฆราชฯ จัดหาทุนซื้อที่ดินและจัดสร้างบรมราชานุสาวรีย์เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของ พระองค์ที่ทรงกอบกู้ประเทศชาติให้เป็นไท ได้พิชิตศึกชนะพม่าที่เข้ามารุกรานหลายครั้ง ตลอดจนสามารถตอบโต้เข้าไปตีพม่าได้ถึงกรุงหงสาวดี










 

Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Indonesian Japanese Korean Vietnamese





 









mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้641
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้592
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3300
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว3563
mod_vvisit_counterเดือนนี้11754
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว29022
mod_vvisit_counterทั้งหมด172401

We have: 124 guests online
IP: 13.58.252.8
วันนี้: เม.ย. 24, 2024











































QR Code
เทศบาลตำบลดอนเจดีย์


ลิขสิทธิ์ © 2564 เทศบาลตำบลดอนเจดีย์ จังหวัดกาญจนบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
เทศบาลตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี โทร. 0-3454-0442